งานสนับสนุนลูกค้า-การใช้งาน ninenic-เว็บไซต์สำเร็จรูป
www.newhelp.ninenic.com
หน้าแรก สารบัญแนะนำการใช้งานเว็บไซต์สำเร็จรูป ติดต่อ Ninenic ระบบ Security
 
   - A   + A

การใช้งาน web editor - การสร้างเว็บฟอร์ม (Diy From)


  
 
      ความหมายของ Form Objects

1.

 ฟอร์ม (Form)  ใช้สร้างฟอร์มที่มีขอบเขตครอบคลุมฟิลด์ที่อยู่ในฟอร์มทั้งหมด

2.

 Check Box  เป็นฟิลด์สำหรับข้อมูลที่มีลักษณะให้เลือกเช็คกี่ข้อก็ได้จากตัวเลือกทั้งหมด

3.

 Radio Button  เป็นฟิลด์สำหรับให้เลือกเช็คเพียงข้อใดข้อหนึ่ง

 4.

 Text Field  เป็นฟิลด์สำหรับข้อมูลที่มีลักษณะเป็นข้อความสั้น ๆ ไม่เกิน 1 บรรทัด  เช่น ชื่อ, อีเมลล์ เป็นต้น

5. 

 Text Area  เป็นฟิลด์สำหรับข้อมูลที่มีลักษณะเป็นข้อความ หรือตัวอักษรมีความยาวมากกว่า 1 บรรทัด

6. 

 List / Menu  เป็นฟิลด์ที่แสดงรายการให้เลือกจากข้อมูลที่กำหนดไว้

 7.

 Button  เป็นปุ่มสำหรับยืนยันข้อมูลภายในฟอร์ม 
 8.  Hidden Field คือ Filed ประกอบของ form เพื่อกำหนดค่าต่างๆของ form ให้สามารถใช้งานได้สมบูรณ์


 

      คุณสมบัติของ Form Objects
       1.   Form : ปุ่มฟอร์มใช้ในการกำหนดขอบเขตสำหรับการสร้างฟอร์ม
            วิธีการเรียกใช้งาน Form คลิ๊กเลือกไอคอน “Forms” เสร็จแล้วจะปรากฎหน้าจอ “แบบฟอร์ม” ดังรูป กรอก
              ข้อมูลให้ครบ
                - ช่องชื่อ (Form Name) ให้กำหนดชื่อของฟอร์ม เช่น From ซึ่งนี้จะถูกใช้เพื่ออ้างอิงในสคริปต์ PHP
                    *(ชื่อที่กำหนด ต้องเป็น ภาษาอังกฤษ a-z,0-9 ห้ามใช้ภาษาไทย หรือ เว้นวรรคแต่ใช้เครื่องหมาย “_” ได้) 

                - ช่องแอคชั่น (Action) ให้กำหนดชื่อ/mail.php ซึ่งจะมีสคริปต์ PHP ที่จะรับค่าของ Object ต่างๆ จาก
                  ฟอร์ม From มาประมวลผล

                - ช่องเมธอด (Method) ให้เลือก Post เป็นรูปแบบการส่งค่าของของ Object ต่างๆ จากฟอร์ม From ไปที่
                  เว็บเพ็จที่กำหนดไปใน Action.
 
     หลังจากกำหนดเรียบร้อยแล้วคลิก ตกลง /OK จะเห็นขอบเขตของฟอร์ม HTML แสดงเป็นเส้นประสีแดง ตัวอย่างดังรูป

 

       2. Check Box : ทำหน้าที่เพื่อแสดงตัวเลือกให้ผู้ใช้ได้เลือกตัวเลือกที่กำหนดให้  ซึ่งสามารถเลือกได้มากกว่า 1 ตัวเลือก
          วิธีการแทรก Check Boxคลิกเลือกไอคอน “Check Box” จะปรากฎหน้าจอให้กำหนดคุณสมบัติของ Check Box หน้าต่างดังรูป
 

                       - ช่องชื่อ (Name)  กำหนดชื่อของ Check Box  (ชื่อที่กำหนดต้องเป็นภาษาอังกฤษ a-z,0-9 และเครื่องหมาย “_” เท่านั้น)
                       - ช่องตัวแปร (Value)  กำหนดค่าให้ Check Box หรือกำหนดค่าตัวแปรนั่นเอง
                       - ช่องเลือกเป็นค่าเริ่มต้น (Selected) เป็นการกำหนดสถานะเริ่มต้นเมื่อแสดงบนเว็บเพ็จ  มี 2 ลักษณะ คือ
                              Checked กำหนดให้เริ่มต้นโดยสถานะถูกเลือก
                              Unchecked กำหนดให้เริ่มต้นโดยสถานะไม่ถูกเลือก 

 
        3.  Radio Button : ทำหน้าที่เพื่อแสดงตัวเลือกให้ผู้ใช้ได้เลือกตัวเลือกที่กำหนดให้  ซึ่งสามารถเลือกได้เพียง1 ตัวเลือก
              เท่านั้น เช่น  การเลือกระบุเพศ  ชาย หรือ หญิง  จะเป็นการเลือกเพศใดเพศหนึ่งเพียงเพศเดียวเท่านั้น

             วิธีการแทรก Radio Button  คลิกเลือกไอคอน “Radio Button”  จะปรากฎหน้าจอดังรูป

                     - ช่องชื่อ (Name) กำหนดชื่อของ Radio Button  หากเป็นการเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง จากตัวเลือกตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป  
                     - ช่องตัวแปร (Value)  กำหนดชื่อของ Radio Button ทุกตัวให้ชื่อเหมือนกัน  มิฉะนั้นการทำงานของ Radio Button  
                        จะไม่ถูกต้อง (ชื่อที่กำหนดต้องเป็นภาษาอังกฤษ a-z,0-9 และ เครื่องหมาย “_” เท่านั้น)
                    -  ช่องเลือกเป็นค่าเริ่มต้น (Selected) กำหนดสถานะเริ่มต้นเมื่อแสดงบนเว็บเพ็จ  มี 2 ลักษณะ คือ
                              Checked        กำหนดให้เริ่มต้นโดยสถานะถูกเลือก
                              Unchecked    กำหนดให้เริ่มต้นโดยสถานะไม่ถูกเลือก

        4. Text Field : จะมีหน้าที่ในการรับค่าหรือแสดงข้อมูล

               วิธีการแทรก Text Field  คลิกเลือกไอคอน “Text Field” จะปรากฎหน้าจอดังรูป

 

                     - ช่องชื่อ (Name)  กำหนดชื่อของ Text Field  
                     - ค่าตัวแปร (Value) กำหนดค่าตัวแปรให้กับ Text Field นี้  (ชื่อที่กำหนดต้องเป็นภาษาอังกฤษ a-z,0-9
                       และเครื่องหมาย “_” เท่านั้น)
                     - ความกว้าง (Character Width)  กำหนดความกว้างของ Text Field
                     - จำนวนตัวอักษรสูงสุด(Maximum Characters)  กำหนดจำนวนตัวอักษรสูงสุดที่กรอกข้อมูลได้ของ Text Field
                     - ชนิด (Type) กำหนดชนิดของ Text Field  มี 2 ลักษณะ คือ
                               Text                กำหนดให้แสดงแบบตัวอักษร  
                               Password       กำหนดให้แสดงแบบรหัสผ่าน
 
        5. Text Area : เป็นฟิลด์สำหรับข้อมูลที่มีลักษณะเป็นข้อความ หรือตัวอักษรมีความยาวมากกว่า 1 บรรทัด
              วิธีการแทรก Text Area  คลิกเลือกไอคอน “Text Area” จะปรากฎหน้าจอดังรูป
                                         - ชื่อ (Name)  กำหนดชื่อของ Text Area 
- คอลัมม์ (Columns) กำหนดจำนวนคอลัมม์ที่ต้องการให้แสดงของ Text Area
                                         - แถว (Rows)  กำหนดจำนวนแถวที่ต้องการให้แสดงของ Text Area

        6.   List / Menu : เป็นฟิลด์ที่แสดงรายการให้เลือกจากข้อมูลที่กำหนดไว้
              วิธีการแทรก  List / Menu คลิกเลือกไอคอน “List/Menu”  จะปรากฎหน้าจอดังรูป

                       -  ชื่อ (name)  กำหนดชื่อพารามิเตอร์ที่จะส่งให้กับอีกเพจหนึ่ง
                       -  ค่าตัวแปร (value) กำหนดค่าตัวแปรให้กับ Text Field นี้  (ชื่อที่กำหนดต้องเป็นภาษาอังกฤษ a-z,0-9 และ
                          เครื่องหมาย “_” เท่านั้น)
                       -  ขนาด (Size) กำหนดจำนวนบรรทัดที่ต้องการให้แสดง 
                       -  เลือกหลายค่าได้ (Allow mutiple selections)  เป็นการกำหนดว่าสามารถให้เลือกได้หลายรายการหรือไม่

            รายการตัวเลือก จะประกอบด้วย
                       -  ข้อความ (Text) ในส่วนนี้เป็นการกำหนดรายการตัวเลือก สามารถตั้งได้ยาวตามต้องการไม่จำกัดจำนวนตัวอักษร
                       -  ค่าตัวแปร (Value) เป็นการกำหนดค่าให้กับข้อความข้างต้นซึ่งการกำหนดค่าตัวแปรนั้นต้องสอดคล้องกับส่วนของข้อความ
                          เพื่อจะสามารถอ่านค่าได้ (สามารถกำหนดได้ทั่งภาษาไทย อังกฤษ)
                       -  ปุ่ม ลบ / เพิ่ม / แก้ไข / บน / ล่าง เป็นปุ่มสำหรับเพิ่มหรือลบรายการ, แก้ไขข้อความของรายการที่ต้องการแก้ไข ,
                          จัดลำดับข้อความกำหนดว่าจะให้อยู่ส่วนไหนของรายการตัวเลือก 
                       -  เลือกเป็นค่าเริ่มต้น (Set as selected value) เลือกเป็นค่าเริ่มต้น สำหรับกำหนดค่าค่าตัวแปร (value)

 
         7.  Button :  ทำหน้าที่ส่งข้อมูลของ Objects บนฟอร์ม ไปยังเว็บเพ็จอื่น
                วิธีการแทรก Button  คลิกเลือกไอคอน “Button”  จะปรากฎหน้าจอดังรูป
                      - ชื่อ (Name)  กำหนดชื่อของ Button (ชื่อที่กำหนดต้องเป็นภาษาอังกฤษ a-z,0-9 และ   เครื่องหมาย “_” เท่านั้น)
                      - ข้อความ (ค่าตัวแปร) / Text Value)    กำหนดข้อความที่จะแสดงบนปุ่ม Button
                      - ข้อความ (Type)  เป็นการกำหนดชนิดของ Action มี 3 ลักษณะ คือ
                                          Submit Form   กำหนดให้ใช้สำหรับส่งฟอร์มไปประมวลผล
                                          Reset Form     กำหนดให้ใช้สำหรับยกเลิกการกรอกข้อมูลในฟอร์ม                        
                                          None             กำหนดให้ไม่ทำงานใดๆ มีค่าว่าง
 
          8.  Hidden Field คือ Filed ประกอบของ form เพื่อกำหนดค่าต่างๆของ form ให้สามารถใช้งานได้สมบูรณ์
                วิธีการแทรก Hidden Field   คลิกเลือกไอคอน “Hidden Field ”  จะปรากฎหน้าจอดังรูป
 

                     การกำหนดค่า Sender
                            -  Sender  คือ การกำหนดชื่ออีเมล์ต้นทางของผู้ส่ง 
                            -  วิธีการกำหนดค่า  sender คลื๊กเลือกบริเวณที่จะสร้าง Hidden Field  เลือกไอคอน ()  จะปรากฏหน้าจอดังรูป
                            กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ที่ Properties 
                                   จากตัวอย่าง Name : “sender”, Value : “ระบุอีเมล์ของท่าน เช่น
admin@ninenic.com

                     การกำหนดค่า  recipient
                            -  recipient  คือ การกำหนดปลายทางผู้รับ 
                            -  วิธีการกำหนดค่า  recipient คลื๊กเลือกบริเวณที่จะสร้าง Hidden Field  เลือกไอคอน (
                            -  กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ที่  Properties                
                                ตัวอย่าง Name : “recipient”,  Value : “ระบุเฉพาะ email ไม่ต้องใส่ @yourdomain.com ระบบจะเติม 
                                 @yourdomain.com ให้เองเพื่อป้องกันการส่ง spam” เช่น
admin@ninenic.com ก็ระบุเฉพาะ admain
                     การกำหนดค่า  subject
                            -  subject  คือ การกำหนดชื่อเรื่อง ที่จะให้แสดงใน Subject อีเมล์ปลายทางผู้รับ
                            -  วิธีการกำหนดค่า  subject คลื๊กเลือกบริเวณที่จะสร้าง Hidden Field  เลือกไอคอน (
                     การกำหนดค่า  Redirect URL 
                            -  Redirect URL  คือ การกำหนดค่า สำหรับให้เว็บแสดงหน้าที่ต้องการหลังจากกด Submit From เช่น เมื่อกด Submit
                               From แล้วเว็บไซต์จะ Redirect URL ไปยังหน้าที่เราได้กำหนดไว้ เช่นหน้า Index, thankyou 
                            -  วิธีการกำหนดค่า  subject คลื๊กเลือกบริเวณที่จะสร้าง Hidden Field  เลือกไอคอน (  ) 
 


Page : [1] [2]

www.newhelp.ninenic.com
หน้าแรก สารบัญแนะนำการใช้งานเว็บไซต์สำเร็จรูป ติดต่อ Ninenic ระบบ Security
    Web hosting | website builder |เว็บไซต์สำเร็จรูป by ninenic ©Copyright 2002-2024 All rights reserved.
Ecomsiam dot com Co., Ltd.
82/8 M.6 T.taradkwan A.Muang
Tel : 02-9682665 Fax: 02-9683400
Email : info@ninenic.com